[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : การค้ามนุษย์ในประเทศไทย (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2154
พุธ ที่ 2 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง การค้ามนุษย์ในประเทศไทย

               ระดับ 3 (Tier 3) ติดต่อกันเป็นปีที่สองแล้วส่งผลให้ต่างชาติยังคงออกมาตรการแบนสินค้าส่งออกของไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งอาหารทะเลแช่แข็ง ปลา กุ้ง เนื้อวัว ฯลฯซึ่งการค้ามนุษย์ที่สามารถพบเห็นได้ในประเทศไทยมีทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การบังคับค้าประเวณี, การบังคับเพื่อธุรกิจทางเพศอื่น, การบังคับใช้แรงงาน (ประมง) และการบังคับขอทานซึ่งเป็นรูปแบบที่เราพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานที่ชุมชนต่าง ๆ เช่น ในตลาด บริเวณห้างสรรพสินค้า บนสะพานลอย เป็นต้น และเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าขอทานเหล่านั้นเป็นขอทานจริง ๆ ด้วยตัวเองหรือเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์กันแน่
การค้ามนุษย์ในประเทศไทยพบได้ทั้งในกรณีที่เป็นการค้ามนุษย์ภายในประเทศ จากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง และการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศทั้งในเขตละแวกประเทศเพื่อนบ้านและข้ามทวีปไปค่อนโลก ซึ่งการค้ามนุษย์ในประเทศมักมีผู้หญิงและเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก และจากสถิติประจำปี 2556 ที่สำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ได้รวบรวมไว้ พบว่ามีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่เข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมทั้งสิ้น 681 ราย โดยแบ่งเป็นคนไทย สูงถึง 305 ราย รองลงมาคือชาวเมียนมา ลาว กัมพูชา และประเทศอื่น จะเห็นได้ว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ในประเทศตัวเองเป็นจำนวนมาก ส่วนการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศมักมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและผู้หญิงต่างด้าว กรณีของคนไทยพบว่าธุรกิจทางเพศที่เกี่ยวกับบัญหาการค้ามนุษย์ภายในประเทศลดน้อยลง เนื่องจากมีคนต่างด้าวเข้ามาทดแทนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากเรื่องปัญหาเศรษฐกิจและการขาดความรู้ประเทศไทยมีฐานะเป็นทั้งประเทศต้นทางของการค้ามนุษย์ที่ส่งคนไทยไปขายยังต่างประเทศ ประเทศทางผ่านของการค้ามนุษย์ที่ปล่อยให้ขบวนการค้ามนุษย์เดินทางผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์มีแรงงานต่างด้าวมากมายที่เข้าสู่วงจรนี้ที่ประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจเนื่องจากประเทศไทยมีความเจริญทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน มีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมทำให้มีความต้องการใช้แรงงานในอัตราที่สูงกว่าในประเทศเพื่อนบ้าน
สำหรับการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยนอกจากการปรับแก้ตัวบทกฎหมายว่าด้วยการค้ามนุษย์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในยุคปัจจุบันแล้ว ทางกระทรวงแรงงานยังได้ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ในการศึกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแรงงานเด็กในประเทศไทยภายใต้งบสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เป็นเงินกว่า 9 ล้านเหรียญ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป หากพบว่ามีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานทาสจริง
นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคณะทํางานแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก แรงงานทาสในกิจการสินค้าประมง กุ้ง และโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนถึงแรงงานภาคเกษตรกรรม เพื่อกําหนดทิศทางและเสนอแนวคิดในการป้องกันและแก้ปัญหา โดยมีทุกภาคส่วนเข้าร่วมเป็นกรรมการ ทั้งภาครัฐ เอกชน นายจ้าง ลูกจ้าง และ NGOs
ทั้งนี้ ทางภาครัฐควรจะต้องปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมกันเพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและได้รับการยอมรับในระดับสากล และจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาและป้องกันปราบปรามอย่างเป็นระบบและต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งต้องมีระบบประเมิน ติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำเพื่อนำผลการดำเนินงานมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
 
โดย   ธัญลักษณ์ ฉิมดี
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5