[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : พืชผัก ไม้ผลกับลมหนาว (ด้านเศรษฐกิจ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2724
ศุกร์์ ที่ 4 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  พืชผัก ไม้ผลกับลมหนาว
               
                   ลมหนาวผิดธรรมชาติที่พัดเข้ามาเมื่อปลายเดือนมกราคม และช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ทำให้คน สัตว์ต้องเจ็บป่วยและล้มตาย ต้นไม้ พืชผัก ไม้ผล ต่างได้รับผลกระทบเช่นกัน ลมหนาวระลอกนั้นแม้จะผ่านไป แต่ยังมีความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่พัดมาอีก เกษตรกรพึงระวัง โดยเฉพาะเกษตรกรที่เริ่มเพาะปลูกพืชในระยะต้นกล้าเจอลมหนาว จะทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต ต้นไม้เหมือนกับคนเมื่อเจออากาศแปรปรวน เปลี่ยนแปลงกะทันหันจะหยุดการเจริญเติบโต เมื่อต้นไม้เจอกับความหนาวเย็นของเหลวในลำต้นจะไหลเวียนไม่ดี รากจะไม่ทำงานอาการเหมือนคนเบื่ออาหาร ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีลมหนาวพัดเข้ามา จึงแนะนำไม่ให้ใส่ปุ๋ยทางดิน เพราะพืชไม่ดูดไปใช้งานจะสูญเงินเปล่า ปุ๋ยจะระเหิดระเหยไปกับสายลมและแสงแดด
                   นายอำนาจ โฉมชัชวาล นักวิชาการธุรกิจอารักขาพืช บริษัทจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช กล่าวว่า ลมหนาวทำให้พืชเจ็บป่วย มีอยู่ใน ๒ ระยะ คือ ระยะช่วงที่ยังเป็นต้นกล้าย้ายลงแปลงปลูกไม่นาน ต้นกล้าจะเหมือนเด็กอยู่ในวัยที่ต้องเลี้ยงบำรุงให้ดีเพื่อจะได้โตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ทั้งสมอง ร่างกายและจิตใจ แต่เมื่อเจอลมหนาวเบื่ออาหาร กินไม่ได้ โตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สมบูรณ์ ให้ใบ ดอก ผลไม่ดี ไม่มีคุณภาพ ขายไม่ได้ราคา อีกระยะคือ ช่วงตั้งท้อง คนท้องต้องการอาหารบำรุงร่างกายมากเป็นพิเศษ เพราะต้องเลี้ยงทั้งตัวเองและทารกในครรภ์ ต้นไม้เช่นกันเจอลมหนาวจะเบื่ออาหาร ของเหลวในลำต้นไหลเวียนไม่ดี มิต่างระบบเลือดในร่างกายไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อรวงข้าวได้อาหารไม่ทั่วถึง ผลผลิตจึงไม่สมบูรณ์ 
                   ส่วนวิธีเยียวยา ต้องหาวิธีกระตุ้นให้เกิดความหิว สำหรับพืชกระตุ้นด้วยการให้ฮอร์โมนในกลุ่มไนโตรฟีนอล เพื่อให้ของเหลวในระบบลำต้นไหลเวียนดีขึ้น สิ่งที่ตามมาพืชจะกระหายหิวอยากอาหารมากขึ้นนั่นเอง แต่ต้องกระตุ้นด้วยการฉีดพ่นทางใบเพื่อให้พืชกินได้ทันที เมื่อรากไม่ยอมทำงาน นำฮอร์โมนกลุ่มไนโตรฟีนอล หรืออโทนิค อัตราส่วน ๑๐ ซีซีต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ร่วมกับธาตุอาหารรองในกลุ่มสังกะสี  หรือเนเทอไรฟ์ อัตรา ๓๐ ซีซีต่อน้ำ ๒๐ ลิตร กระตุ้นเสริมให้พืชหิวกระหายมากขึ้น ซึ่งการฉีดพ่นทางใบให้ได้ผลดีควรลงมือทำก่อนที่อากาศจะหนาวเย็น และฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ ๗ วันในช่วงลมหนาวมาเยือน.
 
โดย   พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์   
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5