[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : จิตสำนึกสาธารณะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2055
จันทร์ ที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  จิตสำนึกสาธารณะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น

                   ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า หลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดขึ้นจากการทุจริตมากขึ้น เพราะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประเมินเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ได้ทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนต้องมีปัจจัยเอื้ออำนวย ทั้งความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเสริมสร้างขีดความสามารถของสถาบัน และการลงทุนในบริการต่าง ๆ ของรัฐ การทุจริตในระดับสูงบ่อนทำลายปัจจัยเหล่านี้
                   การแก้ปัญหาจึงต้องมีระบบการเงิน การบริหาร และการควบคุมดูแลที่เข้มแข็ง การช่วยเหลือจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการที่มีผลต่อการเจริญเติบโต เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การสาธารณสุขมูลฐาน แต่การรับสินบนขนาดใหญ่ทำให้โครงการที่ควรจะได้รับประโยชน์ ถูกจัดลำดับความสำคัญในระดับต่ำ ดังนั้น การทุจริตคอร์รัปชั่นจึงเป็นรูปแบบที่เลวร้ายของการเลือกปฏิบัติ เพราะจุดมุ่งหมายการให้สินบนคือ การได้รับอภิสิทธิ์หรือการปฏิบัติที่เอื้ออำนวยจากนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ หากปฏิบัติอย่างเท่าเทียมจะไม่มีการให้สินบนหรือทุจริต
                   ศ.(พิเศษ) วิชา ยังระบุว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นฝังรากมานานตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการให้สิทธินักการเมืองเข้าไปรับสัมปทานกิจการ และสืบทอดไปจนถึงรุ่นลูกหลาน ทำให้ความยากจนฝังรากมายาวนาน คนที่ได้รับผลประโยชน์เป็นคนกลุ่มเดียวกัน มีส่วนได้ส่วนเสีย กลายเป็นที่มาของกับดักทางเศรษฐกิจ แต่ถ้าไม่เข้าร่วมกลุ่มจะไม่มีโอกาสได้รับงาน อย่างไรก็ตาม การทุจริตประจำหน่วยงานต่าง ๆ เป็นเห็บเหาที่เกาะกินจนถึงรากลึก แม้ผู้บริหารระดับสูงจะหลุดพ้นจากตำแหน่งแต่ยังมีพวกพ้องบริหารงาน
ทำให้เกิดช่องโหว่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่คำนึงถึงประโยชน์สุขของมหาชน ดังนั้น จึงต้องช่วยกันสังคายนาปัญหาทุจริตโดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สังคมดีขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย การให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ ควรมีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฯ แม้ว่าจะได้มีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. ๒๕๔๐ แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง โดยเฉพาะข้อมูลด้านนโยบายแห่งรัฐ และด้านนโยบายสาธารณะ.             
                   
โดย   พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5