[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ช่วยกัน ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง (ด้านสิ่งแวดล้อม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 1933
จันทร์ ที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  ช่วยกัน ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง

                ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ        ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้น แม้เราเผชิญกับปัญหา    ภัยแล้งทุกปี แต่ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาวิกฤตภัยแล้งให้หมดไปได้
                   ทุกภาคส่วน รวมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ร่วมมือกันฝ่าวิกฤตภัยแล้งทั้งการป้องกัน การแก้ไข การให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มอบหมายให้สหกรณ์จังหวัดในพื้นที่ ๒๒ จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาบูรณาการขับเคลื่อนมาตรการช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ๒๒ จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่      ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยเน้นให้เชื่อมโยงนโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เบื้องต้นได้ให้การช่วยเหลือบรรเทาภาระหนี้สินและลดต้นทุนของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน ๒๐๖.๒๓ ล้านบาท        ที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. จ่ายชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร อัตราร้อยละ ๓ ต่อปี เป็นระยะเวลา ๖ เดือน ขณะเดียวกันยังมีแผนสนับสนุนสินเชื่อระยะสั้นให้แก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ๒๒ จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งด้วย โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ได้อนุมัติกรอบวงเงินกู้ กพส. จำนวน ๓๐๐ ล้านบาทให้สหกรณ์กู้ยืมไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนแบบ        ปลอดดอกเบี้ย ระยะเวลา ๖ เดือน อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดสรรเพื่อให้การช่วยเหลือครอบคลุมทั่วถึง
                   นอกจากนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ยังมีแผนเร่งส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่ดังกล่าวปลูกพืชใช้น้ำน้อย และอายุเก็บเกี่ยวสั้น เพื่อสร้างรายได้ในช่วงหน้าแล้งทดแทนการทำนาปรัง โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่ตลาดมีความต้องการสูง เช่นถั่วเขียว       ถั่วเหลือง เป็นต้น 
                   ปัญหาภัยแล้ง ต้องร่วมมือกัน ควบคุมการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทุกภาคส่วนต้องใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า ไม่ปล่อยน้ำไหลทิ้ง ควรใช้ภาชนะใส่น้ำแทนการล้างด้วยการปล่อยน้ำไหลจากสายยางโดยตรง ปิดก๊อกน้ำให้สนิท    ทุกครั้ง และหมั่นตรวจสอบจุดรั่วซึมของน้ำ
                   อย่างไรก็ตาม เพื่อการวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์        ควรเลือกเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย งดเว้นการทำนาปรัง และหลีกเลี่ยง การเผาตอซังและฟางข้าว ให้ใช้วิธีฝังกลบแทน เพราะจะทำให้ดินขาดความชุ่มชื้น ส่งผลให้สถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น
 
โดย   ธนัชพร ถ้ำสิงห์
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก
          





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5