[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : หนี้ครัวเรือน ปัญหากระตุ้นการบริโภค (ด้านเศรษฐกิจ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 1999
เสาร์์ ที่ 2 เดือน เมษายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  หนี้ครัวเรือน ปัญหากระตุ้นการบริโภค

                   ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นภัยคุกคามเศรษฐกิจจนเป็นข้อจำกัดการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมาและในอนาคต ก่อนหน้านี้มีการส่งสัญญาณเตือนให้ลดใช้นโยบายการคลังกระตุ้นการบริโภค นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยกบทเรียนเมื่อ ๕ ปีก่อนที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น  ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเร็ว และกล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ควรสร้างปัญหาต่อเสถียรภาพทางการเงินระยะยาว ขณะที่นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) เตือนว่า เศรษฐกิจโลกซึมลึกและเปราะบาง การค้าไทยขยายตัวได้ต่ำ พึ่งการส่งออกได้ยากขึ้น รัฐบาลไม่ควรออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลัก เนื่องจากหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงมากจนไม่สามารถก่อหนี้ได้อีก ยิ่งรายได้ประชาชนลดลงจากราคาพืชผลตกต่ำ การเพิ่มหนี้ครัวเรือนเป็นอันตรายทวีคูณเพราะรายได้กับรายจ่ายสวนทางกัน สุดท้ายจะเป็นหนี้เสียของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้ปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทย คาดว่าจีดีพีของไทยในช่วง ๓ ปีจากนี้ (๒๕๕๙-๒๕๖๑) จะขยายตัวไม่ถึง ๓ เปอร์เซ็นต์ เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงกระทบการบริโภค ทำให้ฟื้นตัวยาก และมีข้อจำกัดกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกมีปัญหา การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวช้า มีเพียงการลงทุนภาครัฐเท่านั้นที่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว
                   กระทรวงการคลังระบุเมื่อปลายปีว่า หนี้ครัวเรือนของไทยมีมากกว่า ๑๐.๔ ล้านล้านบาท หรือ ๘๖ เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่มองในแง่ดีว่าไม่น่าเป็นห่วงเพราะบ่งถึงการเข้าถึงสถาบันการเงินได้ดี หากดูสัดส่วนหนี้ครัวเรือนเกิดจากกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ซื้อรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ หนี้สหกรณ์ หนี้เพื่อการพาณิชย์ ทำธุรกิจ รวมเป็น ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก ๒๕ เปอร์เซ็นต์เป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภค สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ถือว่ามีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับหนี้ครัวเรือนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของหนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นจริง อาจสวนทางกับข้อมูลกระทรวงการคลัง
                   ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนยังถูกเร่งจากนโยบายของรัฐ ไม่ว่าการปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้าน ๖ หมื่นล้านบาท การปล่อยกู้ซื้อบ้านให้กับผู้มีรายได้น้อย หนี้ในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงเป็นหนี้เสีย แม้แต่นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ยอมรับว่าสินเชื่อขยายตัวไม่ได้มาก เพราะหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น เมื่อหนี้ครัวเรือนสูงทำให้หนี้เสียกลุ่มรากหญ้าเพิ่มขึ้น วิกฤตหนี้ครัวเรือนจึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ และหากยังฝืนต่อไปจะทำให้ได้ไม่คุ้มเสีย.                
                   
โดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5