[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : กฎระเบียบควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) (ด้านเศรษฐกิจ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2142
จันทร์ ที่ 4 เดือน เมษายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  กฎระเบียบควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู)
 
                   พล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ ในฐานะโฆษกศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) กล่าวว่า กรณีรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเตรียมออกกฎระเบียบควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) ด้วยการตรวจสอบที่มาของอาหารทะเลที่นำเข้าสหรัฐ ๑๖ ชนิด อาทิ ปลาทูน่า กุ้ง เป๋าฮื้อ ปูม้า ปูยักษ์คิงแครบ ปลิงทะเล และผลิตภัณฑ์จากฉลามทุกชนิดตามคำแนะนำของสำนักงานสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือโนอา การออกกฎควบคุมดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกฎระเบียบมาตรฐานสากลการทำประมงสหภาพยุโรป (อียู) การที่สหรัฐเตรียมออกกฎควบคุมนำเข้าสินค้าประมงผิดกฎหมาย ให้สอดคล้องกฎสากลอื่นตามที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) กำหนด ทราบมาตลอดว่าสหรัฐเตรียมจะออกกฎระเบียบดังกล่าวมานานแล้ว กฎระเบียบดังกล่าวคล้ายคลึงกับไอยูยูของอียู ทำให้มีการเตรียมป้องกันและตรวจสอบการนำเข้าและส่งออกสินค้าสัตว์น้ำล่วงหน้า ก่อนที่สหรัฐจะประกาศกฎระเบียบ
                   ความพยายามแก้ไขการประมงไทยให้เป็นสากลตามข้อเรียกร้องของอียูเป็นเวลา ๑ ปีกว่าแล้ว เช่น ออกพระราชกำหนดประมงคุมเข้มการทำประมงผิดกฎหมาย ให้มีการตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่แหล่งการจับปลา เรือประมงต้องได้ใบอนุญาต มีเครื่องมือระบบติดตามแบบอิเล็กทรอนิกส์กับเรือที่ออกทำประมงนอกน่านน้ำ จนถึงโรงงานที่แปรรูปต้องไม่มีแรงงานผิดกฎหมาย การที่ไทยทำตามข้อเสนอแนะอียูในการแก้ไขปัญหาประมงมาตลอดน่าจะประยุกต์ใช้กับกฎระเบียบของสหรัฐได้เช่นกัน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ภาคเอกชนได้ประกาศยกเลิกการว่าจ้างสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำภายนอก (ล้ง) เพื่อลดปัญหาการใช้แรงงานผิดกฎหมายของล้ง รวมทั้งจะได้ควบคุมตรวจสอบการแปรรูปสัตว์น้ำด้วยตัวเอง
                   นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า หากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศใช้กฎหมายไอยูยู จะส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ราคาอาหารทะเลแพงขึ้น ชาวประมงรายเล็กอาจได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับกรณีที่อียูให้ใบเหลืองแก่ไทย หากกฎหมายไอยูยูของสหรัฐบังคับใช้ จะมี ๑๐ ประเทศเท่านั้นที่สหรัฐนำเข้าสินค้าประมงเป็นหลักได้รับผลกระทบ ไม่ได้บังคับใช้กับทั่วโลกอาจเกิดความไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งทำสงครามแข่งขันด้านราคา เกิดการทุ่มตลาด และแย่งส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะสินค้าส่งออกหลัก อาทิ ทูน่าและกุ้ง มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบหากสหรัฐบังคับใช้มาตรการดังกล่าว การบังคับใช้กฎหมายไอยูยูของสหรัฐจะเกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเล รวมทั้งจะเป็นการยกระดับมาตรฐานสุขอนามัย การบริหารจัดการ การตรวจสอบย้อนกลับของประเทศไทยให้มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น
                   ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า การส่งออกสินค้าประมงไทยไปยังสหรัฐอเมริกาในปี ๒๕๕๘ มีสัดส่วนการส่งออก ๒๐.๘๑ เปอร์เซ็นต์ของตลาดส่งออกสินค้าประมงทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๑๒,๓๒๔ ล้านบาทหรือติดลบ ๕.๒๕ เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๗ ที่มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น ๑๓,๐๐๗ ล้านบาท แยกเป็นรายสินค้า เช่น กุ้ง ปลาหมึก ปลา ปูแช่เย็น แช่แข็ง นึ่งหรือต้ม หอย สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย และสินค้าประมงอื่น ๆ เป็นต้น         

โดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก
                   





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5