[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : การเพิ่มภาษีผลิตภัณฑ์ที่เป็นภัยต่อสุขภาพ (ด้านเศรษฐกิจ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 1940
จันทร์ ที่ 25 เดือน เมษายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  การเพิ่มภาษีผลิตภัณฑ์ที่เป็นภัยต่อสุขภาพ
                  
                   ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้รับข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในเรื่องระบบบริหารจัดการและการเงินการคลังด้านสุขภาพ โดยเฉพาะแนวทางการเพิ่มภาษีผลิตภัณฑ์ที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องปฏิรูป แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นรูปธรรม
                   กระทรวงการคลังเคยเสนอแผนปฏิรูปภาษีให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาแล้ว ซึ่งการเก็บภาษีเครื่องดื่มเป็นหนึ่งในแผนปฏิรูป ทั้งการเสนอจัดเก็บภาษีชาเขียว กาแฟกระป๋องที่มีส่วนผสมของกาเฟอีนและน้ำตาล น้ำผลไม้กระป๋อง ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังหารือกับ สธ.กรณีจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากน้ำตาลสูง แต่ก่อนจัดเก็บภาษี ต้องพิสูจน์ได้ว่าการบริโภคน้ำตาลเป็นโทษจริง สามารถหยิบผลการศึกษามาเสนอให้ฝ่ายนโยบายตัดสินใจใช้มาตรการภาษีผลักดันให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้ทันที นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ยังได้สั่งการให้กรมสรรพสามิตจัดทำแผนการเก็บภาษีใน ๕ ปีข้างหน้า เสนอให้ ครม.พิจารณาและเห็นชอบ
                   กรมสรรพสามิตมีความยืดหยุ่นการจัดเก็บรายได้ ทั้งการเก็บภาษีบาป ภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาษีเพื่อดูแลสังคม รวมทั้งสินค้าบางประเภทที่เป็นพิษกับสุขภาพ โดยเฉพาะกรณีของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และหากมีข้อมูลยืนยันทางการแพทย์ที่แน่ชัดว่าเป็นพิษกับสุขภาพจริง จะเสนอรัฐบาลเก็บภาษีดังกล่าวทันที อย่างไรก็ตาม นอกจากการเก็บภาษีเครื่องดื่มที่ทำลายสุขภาพแล้ว ยังมีเรื่องระบบบริหารจัดการและการเงินการคลังด้านสุขภาพ โดยเสนอว่า สธ.ควรมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลสุขภาพ หรือเป็นผู้ให้บริการ และควรบูรณาการข้อมูลสารสนเทศประกันสุขภาพและการเบิกจ่ายงบประมาณเข้ากับระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร จัดตั้งหน่วยงานกลางบริหารจัดการกองทุนสุขภาพ แต่ไม่ควรรวมกองทุน
                   การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจน ควรเพิ่มจำนวนแพทย์ และคำนึงถึงการย้ายถิ่นฐานของผู้ประกันตนด้วย ส่วนการปฏิรูประบบการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสาธารณสุขระดับจังหวัด ชุมชน และท้องถิ่น โดยกำหนดทิศทางและเป้าหมายการทำงานร่วมกัน.
                   
โดย   พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5