[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ปลูกปอเทือง ช่วงน้ำน้อย (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2706
จันทร์ ที่ 25 เดือน เมษายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  : ปลูกปอเทือง ช่วงน้ำน้อย

             เมื่อความแล้งเข้ามาเยือน เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ทำนาข้าวหรือปลูกพืชผลอื่น ๆ       ที่ต้องใช้น้ำจำนวนมาก ๆ ก็มักจะได้รับความเสียหาย ผลผลิตได้น้อยเกินไปไม่คุ้มกับการลงทุน ดังนั้นการปลูกพืชทางเลือกที่ทนแล้งจึงกลายมาเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการอยู่รอด             ของเกษตรกร พืชที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรยามหน้าแล้ง และเมื่อนำไปไถกลบ   จะกลายเป็นปุ๋ยพืชสดคุณภาพดีที่สามารถบำรุงดิน และลดต้นทุนค่าปุ๋ยให้กับเกษตรกร       ได้อย่างไม่น่าเชื่อ คือ ปอเทือง 
ปอเทือง เป็นพืชตระกูลถั่วที่นิยมนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ลักษณะเป็นไม้พุ่มความสูง 100–300 เซนติเมตร ลำต้นกลม ใบยาวเรียวแหลม ดอกสีเหลือง ฝักเป็นรูปทรงกระบอก เมล็ดคล้ายรูปไตสีน้ำตาล ความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร มี 10-20 เมล็ด    ต่อหนึ่งฝัก เป็นพืชที่ใช้ต้นทุนในการปลูกต่ำและทนแล้ง เมล็ดพันธุ์สามารถนำไปขาย และยังใช้ทำปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับคุณภาพดิน จึงเป็นพืชทางเลือกใหม่ในวิกฤตแล้งเช่นนี้ 
วิธีการปลูก มี 2 วิธี คือ 1. ปลูกโดยไม่ต้องเตรียมดิน ซึ่งทำก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน 1–2 วัน วิธีนี้จะสูญเสียเมล็ดพันธุ์มากจากการกลบของฟางข้าว       2. การปลูกโดยการเตรียมดินทำได้โดยใช้รถไถขณะดินมีความชื้นอยู่แล้วหว่านเมล็ดปอเทือง จะคราดกลบหรือไม่ก็ได้ ถ้าหากเกษตรกรใช้ปรับปรุงบำรุงดินควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน        ถ้าปลูกช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม เหมาะสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์ 
 การเก็บเกี่ยวผลผลิต มี 2 วิธี 1. ใช้รถเกี่ยวข้าวเก็บเกี่ยว แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุน 2. การใช้เคียวเกี่ยวผึ่งแดดไว้ 3–4 แดด นำมาใส่กระสอบแล้วทุบให้ฝักแตก หรือนำมากองบนผ้าใบแล้วใช้รถย่ำในบริเวณแปลงนา ผลผลิตเฉลี่ย 80-120 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 20–25 บาทต่อกิโลกรัม 
การดูแลรักษา หลังการหว่านเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 3–5 วัน อาศัยความชื้น    ที่มีอยู่ในดินไม่ต้องให้น้ำ 50–60 วัน ดอกเริ่มบานจากข้างล่างก่อน 120–130 วัน ฝักจะแก่และเก็บเกี่ยวได้ ศัตรูที่สำคัญได้แก่หนอนผีเสื้อจะเจาะฝักกินเมล็ดข้างใน 
ประโยชน์ของปอเทือง เมื่อไถกลบจะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดี โดยชาวนา            ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงอีกต่อไป นอกจากประโยชน์ที่ได้กล่าวไปแล้วยังมีประโยชน์แฝงอีกอย่าง นั่นก็คือสามารถเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ผู้คนไปเที่ยวชมความสวยงามคล้ายๆ กับทุ่งทานตะวัน อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างให้เกษตรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการขายของที่ระลึก ขายอาหาร เครื่องดื่ม และอื่นๆ อีกมากมาย เกษตรกรที่สนใจปลูกปอเทือง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดทุกจังหวัด ในสภาวะการภัยแล้งเช่นนี้ เกษตรกรคงต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ โดยรู้จักการปรับปรุงวิธีการปลูกพืช                มีการใช้เทคโนโยลีแบบประสมประสานเกษตรอินทรีย์ ก็จะสามารถรอดพ้นวิกฤตไปได้

โดย  ณัฐชยา  เหมือนสมหวัง
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5