[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : โรคลมแดด ภัยร้ายที่มากับลมร้อน (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2086
จันทร์ ที่ 25 เดือน เมษายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  โรคลมแดด ภัยร้ายที่มากับลมร้อน

                   สภาพอากาศร้อนจัด เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะประเทศไทยที่ช่วงกลางวันแดดร้อนจ้า ยิ่งในช่วงเดือนมีนาคม-เดือนเมษายนของทุกปีอากาศที่ร้อนจัดถึง ๔๔ องศาเซลเซียส จึงเตือนให้ระวัง “โรคลมแดด” ภัยร้ายจากความร้อนจัดที่อาจส่งผลร้ายถึงชีวิตโดยไม่ทันตั้งตัว
                   โรคลมแดด (Heat Stroke) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป ไม่สามารถควบคุมความร้อนภายในร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติได้ อาการหลักของโรคนี้มี ๒ แบบ คือ.-
                   -แบบไม่รุนแรง จะมีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด แต่ยังรู้สึกตัว หากได้ดื่มน้ำเย็น และอยู่ในสถานที่อากาศเย็นจะมีอาการดีขึ้น
                   -แบบรุนแรง มีอาการตัวร้อนจัด คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และเป็นลม หากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
                   สัญญาณเตือนสำคัญของโรคลมแดด คือ ไม่มีเหงื่อออกแม้อากาศร้อน ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน เกร็งกล้ามเนื้อ ชัก มึนงง สับสน รูม่านตาขยาย รู้สึกตัวน้อยลง อาจหมดสติหัวใจเต้นเร็วแต่แผ่วเบา หากไม่ได้รับการรักษาถูกต้องและทันเวลา จะทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต
                   ผู้มีความเสี่ยงต่อโรคลมแดดมากกว่าคนทั่วไป มี ๖ กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย ทำงานก่อสร้าง เกษตรกร, เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี และผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง, คนอ้วน เนื่องจากมีร่างกายที่เก็บความร้อนได้ดีกว่าคนทั่วไป,    ผู้ที่พักผ่อนไม่พอเพราะการอดนอนทำให้ร่างกายตอบสนองความร้อนได้ช้ากว่าปกติ และผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทำให้เส้นเลือดฝอยขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากอยู่ในสภาพที่ร้อนจัดแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดอาจช็อคและเสียชีวิต นอกจากนี้ ห้ามอยู่ในที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สูง อับ ไม่มีลมพัด
                   นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำแนวทางป้องกัน หากพบ
ผู้มีอาการให้รีบนำเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก นอนราบยกเท้าสองข้างขึ้นสูงเพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบ ร่วมกับใช้พัดลมเป่า หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ  และนำส่งแพทย์โดยเร็ว ไม่ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแดดเป็นเวลานาน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรดื่มน้ำชั่วโมงละ ๑ ลิตรแม้จะไม่กระหายน้ำ สวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สีอ่อน ระบายอากาศได้ดี  ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำจนกระหายหรือริมฝีปากแห้ง ควรดื่มน้ำ ๑-๒ แก้วก่อนออกจากบ้านในวันที่อากาศร้อน หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผู้มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวให้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ สอดส่องดูแลไม่ให้เด็ก ผู้สูงอายุอยู่กลางแดดหรือในรถที่จอดตากแดด ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด เพียงเท่านี้ฤดูร้อนนี้จะกลายเป็นวันแห่งความสุขของทุกคน.
 
 โดย  พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5