[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยต่อไต (ด้านสุขภาพ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2024
พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยต่อไต

              ไตเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ขจัดของเสีย ยาและสารต่าง ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการออกไปในรูปปัสสาวะ ดังนั้นไตจึงมีความเสี่ยงสูงในการได้รับอันตรายจากพิษของยาและสารเคมีที่เรารับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีอาการทำงานของไตบกพร่องแต่เดิมอยู่แล้ว ซึ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น
สำหรับยาที่ควรรับประทานอย่างระมัดระวังเพราะมีผลต่อไตโดยตรง ได้แก่ ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยากลุ่มนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ ปวดหลัง ปวดกระดูก ซึ่งมีฤทธิ์บรรเทาปวดได้ดีกว่ายาแก้ปวดพาราเซตามอน ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น Ponstan, Ibuprofen, Piroxicam, Arcoxia เป็นต้น
ยาดังกล่าวสามารถแก้ปวดและลดการอักเสบโดยยับยั้งการสร้างสารโพรสตาแกลนตินซึ่งเป็นสารที่ช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือดในไตให้เป็นปกติ ดังนั้นการได้รับยากลุ่มนี้เป็นระยะเวลานานอาจส่งผลเสียต่อการไหลเวียนของเลือดในไตซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ยากลุ่มที่สองที่ควรระมัดระวังจะเกิดผลเสียต่อไต คือ ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น กลุ่มซัลฟา ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกกันติดปากว่ายาฆ่าเชื้อ ยาดังกล่าวเมื่อรับประทานเข้าไปมักตกตะกอนและเป็นผลึกในท่อปัสสาวะ ดังนั้น ก่อนใช้ยานี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง กลุ่มสุดท้ายคือยาลูกกลอน สารโลหะหนัก และสเตียรอยด์ ยาแผนโบราณเป็นการนำพืชสมุนไพรมาผสมกันในสัดส่วนที่พอเหมาะแล้วต้มในหม้อดิน อาจเรียกกันในชื่อต่าง ๆ กันไป เช่น ยาหม้อ ยาสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบของยาออกไปในหลายลักษณะ เช่น ยาลูกกลอน ยาผง ยาอัดเม็ด หรือยาบรรจุแคปซูล ส่วนมากใช้เพื่อรักษาโรคปวดข้อ ปวดกระดูกจากโรคข้อเสื่อม โรคมะเร็ง หรืออาจใช้เป็นยากระตุ้นให้เจริญอาหาร ปัจจุบันพบว่าในส่วนประกอบของยาลูกกลอนนอกจากจะประกอบด้วยพืชสมุนไพรแล้ว ยังพบการเจือปนของสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ทองแดง ปรอท และสารจำพวกสเตียรอยด์ ซึ่งสารเจือปนเหล่านี้ถูกตรวจพบมากกว่าครึ่งหนึ่งของยาลูกกลอนที่วางขายในท้องตลาด ซึ่งสารเจือปนเหล่านี้เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะเกิดการสะสมในร่างกายอีกทั้งยังเป็นพิษโดยตรงในการทำลายเนื้อเยื่อ และก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้
ดังนั้น หากเรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาจำพวกที่กล่าวไปข้างต้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง นอกจากนี้ เรายังมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวในการใช้ยาให้ปลอดภัยต่อไต ดังนี้
1.      ใช้ยาตามข้อบ่งชี้
2.    หลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อน เพราะยาบางกลุ่มมีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกัน ซึ่งการรับประทานร่วมกันไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แต่กลับเพิ่มผลเสียต่อผู้ป่วยทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยามากขึ้น
3.    นำยาที่ใช้ประจำติดตัวมาโรงพยาบาลทุกครั้งเมื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้ประจำทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาการรักษาของแพทย์ เพราะยาบางกลุ่มอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน เช่น อาจเสริมฤทธิ์กันจนทำให้เกิดพิษและอาการข้างเคียงจากการใช้ยามากขึ้น หรือลดฤทธิ์กันทำให้การรักษาไม่ได้ผล

โดย ธัญลักษณ์ ฉิมดี
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5