[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : บทบาทและภารกิจหลักของ กกต.ตามร่าง พ.ร.บ.ประชามติ (ด้านการเมืองและความมั่นคง)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2095
จันทร์ ที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  บทบาทและภารกิจหลักของ กกต.ตามร่าง พ.ร.บ.ประชามติ

                   พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ....กล่าวถึงบทบาทและภารกิจหลักของ กกต.ไว้ว่า ต้องวางตัวเป็นกลาง จัดการออกเสียงประชามติ จัดพิมพ์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และหากฝ่ายใดมีความเห็นแย้งไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว เมื่อส่งเรื่องไป ทาง กกต. มีหน้าที่พิมพ์ประเด็นที่ไม่เห็นด้วย
                   ขณะที่บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงลงประชามติ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติดังกล่าว มีการกำหนดโทษรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐตกเป็นเครื่องมือ ลุแก่อำนาจทำในสิ่งมิชอบตามกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติในมาตรา ๙/๑ ให้หน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ช่วยสนับสนุน กรธ.ได้ในช่วงออกเสียงประชามติ ให้ช่วยอำนวยความสะดวก  เช่น เวลาที่กรรมการร่าง รธน.ไปทำความเข้าใจในจังหวัดต่าง ๆ อาจขอความร่วมมือกับทางจังหวัดให้ช่วยในขณะลงพื้นที่ เช่น เรื่องสถานที่ ดูแลความปลอดภัย แต่ไม่สามารถไปชี้นำประชาชนให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
                   อย่างไรก็ตาม ในร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ ที่ กมธ.วิสามัญฯ ชุดดังกล่าวพิจารณา ได้ปรับแก้กลางที่ประชุม สนช.เมื่อ ๗ เมษายนที่ผ่านมา อาทิ มาตรา ๗ ได้แก้ไขเป็น “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย” ขอบเขตคือ มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่การแสดงความคิดเห็นนั้นได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย จะไปรณรงค์ให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ  หรือแนะโหวตโนไม่ได้ทั้งสิ้น ฝ่ายที่จะรณรงค์ได้มีเพียงกกต.เท่านั้น และต้องทำเพื่อชักจูงให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงลงประชามติให้มาก
หากให้ความเห็นว่าร่าง รธน.มีข้อบกพร่อง จะสามารถชี้แนะได้ แต่ชี้นำว่าไม่ควรรับร่าง รธน.กระทำมิได้ถือว่าเป็นการชี้นำ ซึ่งท้ายที่สุดจะอยู่ที่วิจารณญาณของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง ว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ร่างประชามติฉบับนี้ ถ้าเป็นคณะบุคคลเกิน ๕ คนขึ้นไปมีบทลงโทษหนัก เช่น ตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา ๑๐ ปี
                   เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มิได้ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และไม่ต้องการให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำเรื่องการลงประชามติไปสร้างปมความขัดแย้ง หากมีผู้กล่าวหาและยกมาเป็นปมเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง เมื่อได้พิสูจน์และพบว่าผู้นั้นกระทำผิดจริงต้องได้รับโทษหนัก.
 
โดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5