[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ดูแลหัวใจให้แข็งแรง (ด้านสุขภาพ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2181
พฤหัสบดี ที่ 9 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  ดูแลหัวใจให้แข็งแรง
          หัวใจเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยการหดและคลายตัว ทำงานหนักตลอด ๒๔ ชั่วโมง หากจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ สิ่งนี้เป็นเครื่องบ่งชี้เตือนให้รับรู้ว่าร่างกายกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต อันตรายฉุกเฉิน หัวใจอาจจะหยุดเต้นแบบกะทันหัน
          โรคหัวใจ นับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยจำนวนมาก และเป็นสาเหตุการตายอันดับ ๓ รองจากโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุที่ทำให้หัวใจทำงานผิดพลาด หยุดเต้นกะทันหันเกิดจากการอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอายุ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน  หากรู้เท่าทันโรคหัวใจเชื่อว่าจะปลอดภัยจากภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทย ฉะนั้น ทุกคนควรตระหนักรู้ว่า โรคหัวใจแม้จะมีสถิติการตายที่น่ากลัว แต่สามารถต่อสู้กับโรคได้ด้วยตัวเอง เพียงทำความเข้าใจ หาความรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่
          อาหารการกิน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะลดหรือเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้น หากต้องการดูแลรักษาหัวใจให้ใช้งานได้ดีไปนาน ๆ ควรคำนึงว่าอาหารนั้นเป็นคุณหรือโทษต่อหัวใจ อาหารที่ให้ประโยชน์ต่อหัวใจ เช่น ผัก ผลไม้ สมุนไพรจากกระเทียม บัว หัวหอม พืชตระกูลถั่ว ส่วนอาหารที่ให้โทษต่อหัวใจ เช่น อาหารมันนอกจากเป็นโทษต่อหัวใจแล้วยังให้โทษต่อร่างกายโดยรวมด้วย และที่สำคัญควรบริโภคอาหารให้พอเหมาะต่อการใช้พลังงานในแต่ละวัน ไม่ควรทานมากหรือน้อยเกินไป  การออกกำลังกายเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ เพราะ การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสูบฉีดเลือดได้ดี เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ๒-๔ เท่า อัตราการบีบตัวของหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐-๕๐ ปริมาณเลือดไปเลี้ยงร่างกายเพิ่มขึ้น ๔-๖ เท่า สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจการออกกำลังกายที่เหมาะสมจะแตกต่างจากคนทั่วไป ดังนั้น หากมีข้อสงสัยต้องปรึกษาแพทย์ว่าสามารถออกกำลังกายด้วยวิธีและระดับใดที่เหมาะสม และตรวจสภาพร่างกายเบื้องต้นด้วยตนเองว่า เข้าข่ายหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อสภาวะหัวใจเพียงใด
          สัญญาณบ่งบอกความเสี่ยงของโรคหัวใจมีตั้งแต่เจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งของอาการหัวใจขาดเลือดที่มักแสดงออกขณะออกกำลังกายหรือเกิดอารมณ์โกรธ ในรายที่เป็นหนักอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้แม้นั่งอยู่นิ่ง ๆ  หรือหลังทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ เพียงแต่อาการเจ็บแน่นหน้าอกยังไม่อาจสรุปได้แน่นอน เพราะอาการดังกล่าวอาจเกิดจากปัญหากระดูก กล้ามเนื้อหน้าอก เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จึงจำเป็นต้องสังเกตสัญญาณเสี่ยงอื่น ๆ ประกอบกัน เช่น เหนื่อยหอบง่ายกว่าปกติ ใจสั่นหรือหัวใจเต้นแรงไม่สม่ำเสมอ เวียนศีรษะ มึนงง เป็นลมหน้ามืดโดยไม่รู้สาเหตุ ริมฝีมากและมือเท้าเขียว ขาบวม เส้นเลือดบริเวณคอโป่ง ท้องและตับโตอย่างไม่ทราบสาเหตุ และน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากอย่างผิดปกติ หากมีอาการทางร่างกายข้างต้นยังไม่อาจฟันธงว่าป่วยเป็นโรคหัวใจ เพราะเป็นเพียงสัญญาณพื้นฐานเบื้องต้น ต้องเฝ้าระวังและรีบไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างเร่งด่วน เพื่อหาความชัดเจนและรักษาอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ได้อย่างถูกจุดและทันท่วงที.

ดย ญาณี จันทร์กล่ำ
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5