[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ลดภาระของรัฐ (ด้านเศรษฐกิจ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2532
พฤหัสบดี ที่ 22 เดือน กันยายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ลดภาระของรัฐ

                               รัฐบาลเดินหน้าจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นมาตรการสำคัญที่จะดูแลผู้สูงอายุของประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เสนอให้จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
                   สาระสำคัญของ กบช. บังคับให้ผู้ประกอบการเอกชนทุกแห่งตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้างเพื่อจะได้มีเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ โดยกฎหมายนี้จะเริ่มใช้บังคับในปี ๒๕๖๐ เบื้องต้นจะบังคับใช้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีลูกจ้างกว่า ๑๐๐ คนขึ้นไป การออกกฎหมาย กบช. ทำให้ดูแลผู้สูงอายุให้มีรายได้หลังจากเกษียณอายุงาน และครอบคลุมกับทุก ๆ กลุ่ม ที่ผ่านมาแรงงานในระบบถึงแม้ไม่อยู่ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคสมัครใจ แต่ยังอยู่ในระบบกองทุนประกันสังคม แม้รายได้ที่ได้รับหลังเกษียณอายุจากกองทุนประกันสังคมจะน้อย ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ แต่รายได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การออกกฎหมาย กบช. ยังเป็นการช่วยลดภาระของรัฐบาลในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นรวดเร็ว เพราะการดูแลผู้สูงอายุผ่านเบี้ยยังชีพเดือนละ ๖๐๐-๑,๐๐๐ บาทไม่มากพอสำหรับยังชีพ แต่รัฐบาลไม่สามารถให้เงินเพิ่มได้ เพราะงบประมาณมีจำกัด ดังนั้น การตั้ง กบช.เป็นการบีบบังคับให้แรงงานนอกระบบได้ออมเงิน โดยผู้ประกอบการช่วยออมให้อีกแรงหนึ่ง ซึ่งถือว่าผู้ประกอบการช่วยอุ้มแรงงานให้มีรายได้ใช้เมื่อสูงอายุนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การตั้ง กบช. แม้จะเป็นประโยชน์กับแรงงานในระบบอีก ๑๑ ล้านคนให้มีเงินออม และเป็นประโยชน์กับรัฐบาลที่ลดภาระการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต แต่การตั้ง กบช.ยังถือว่าเป็นภาระกับผู้ประกอบการเช่นกัน
                   นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่า การตั้งกองทุนภาคบังคับดังกล่าว ไม่กระทบกับผู้ประกอบการ เพราะผู้ประกอบการที่มีการจ้างแรงงานจำนวนตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป ถือว่าเป็นกิจการที่มีขนาดใหญ่ มีฐานะการเงินดีในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี บริษัทขนาดใหญ่ที่มีรายได้สูง แต่ไม่มีการตั้งกองทุนให้กับลูกจ้าง ถือเป็นการเอาเปรียบในระดับหนึ่ง การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ขึ้น เพื่อให้เจ้าของกิจการดูแลส่งเสริมลูกจ้างให้ออมเงิน ผู้ประกอบการที่ไม่ประสงค์จัดตั้งกองทุนฯ เนื่องจากต้องการลดต้นทุนดำเนินงาน เมื่อมีกองทุนภาคบังคับทำให้แรงงานอีก ๑๑ ล้านคนได้เข้าระบบ ที่ผ่านมาแรงงานในระบบแม้ไม่อยู่ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคสมัครใจ แต่ยังอยู่ในระบบกองทุนประกันสังคม ขณะเดียวกันรัฐบาลมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ดูแลข้าราชการประมาณ ๑ ล้านรายให้มีรายได้หลังเกษียณ หรือการตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมให้กับแรงงานนอกระบบอีกจำนวน ๒๔ ล้านคนให้เกิดการออมตั้งแต่อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ปัจจุบัน กอช.มีสมาชิกแล้ว ๕ แสนคน และตั้งเป้าในปีแรกนี้ให้ได้สมาชิก ๑ ล้านคน.

โดย  พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์ 

เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก






Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5