[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ประเพณีหนึ่งเดียวในหล้า สู่ศรัทธาแห่งมหาชน อุ้มพระดำน้ำ (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2179
อาทิตย์ ที่ 2 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่องประเพณีหนึ่งเดียวในหล้า สู่ศรัทธาแห่งมหาชน “ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ”

              ในวันสารทไทย วันแรม๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ชาวเพชรบูรณ์จะร่วมใจกันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา พระคู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์เข้าพิธีดำน้ำที่สืบทอดปฏิบัติกันต่อมาหลายรุ่นหลายสมัยจนกลายเป็นประเพณีอุ้มพระน้ำเป็นประจำทุกปี โดยมีพ่อเมืองเพชรบูรณ์หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ทำหน้าที่อัญเชิญลงดำน้ำที่บริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ด้วยเชื่อกันว่าการอุ้มพระดำน้ำจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอาหารจะสมบูรณ์ พืชผลทางการเกษตรจะงอกงามดี ให้ผลผลิตมาก    
             ที่มาของประเพณีนี้มาจากการเล่าสืบๆ ต่อกันมาของคนรุ่นเก่าว่า ชาวประมงกลุ่มหนึ่งที่ออกหาปลาในลำน้ำป่าสักเป็นประจำทุกวัน วันหนึ่งเกิดเหตุประหลาด ตั้งแต่เช้าจนบ่ายหาปลาไม่ได้สักตัว ระหว่างที่นั่งปรึกษาหารือกันอยู่ว่าจะทำเช่นไปต่อไป กระแสนน้ำในลำน้ำป่าสักก็มีฟองน้ำผุดขึ้นมาเหมือนน้ำเดือด และกลายเป็นน้ำวนขนาดใหญ่ ที่กลางน้ำวนก็มีพระพุทธรูปลอยขึ้นมาเหนือน้ำ  ชาวประมงที่เห็นเหตุการณ์โดยตลอดจึงลงไปอัญเชิญขึ้นมาบนบก เพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชาและอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธมหาธรรมราชา
             พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่องกษัตริย์ พุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริด ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลานสวยงาม  สร้างด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง ๑๓ นิ้ว สูง ๑๘ นิ้ว ไม่มีฐานพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิได้ ๑ ปี จนกระทั่งถึงเทศกาลสารทไทย พระพุทธรูปเกิดหายไปอย่างไร้ร่องรอย ชาวบ้านจึงออกตามหา สุดท้ายไปพบว่าลอยน้ำอยู่ตรงจุดที่พบพระพุทธรูปองค์นี้เป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา เมื่อถึงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เจ้าเมือง ข้าราชการ ประชาชนชาวเพชรบูรณ์ จะร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปไปสรงน้ำ ณ จุดที่พบพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก
               อีกความเชื่อหนึ่งกล่าวไว้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ นามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา ถูกอัญเชิญจากสุโขทัยไปไว้ที่เพชรบูรณ์ทางเรือ พร้อมกับให้มีการสร้างวัดใหม่เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อถึงวันสารทไทย ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์จะร่วมกันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ขึ้นประดิษฐานบนบษบก แห่จากวัดไตรภูมิไปตามเส้นทางในเขตเทศบาล เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา ก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์รับหน้าที่อัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานบนเรือหน้าวัดไตรภูมิ ทวนแม่น้ำป่าสักขึ้นไป และไปทำพิธีดำน้ำ ที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์จะอัญเชิญพระพุทธรูป ทูนไว้เหนือหัวค่อยๆ ดำน้ำลงไป  โดยหันหน้าไปทางเหนือ ๓ ครั้ง และหันหน้าทางใต้ ๓ ครั้ง
                 ปัจจุบันประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ผู้ที่ทำหน้าที่อัญเชิญคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ในฐานะพ่อเมืองเทียบเท่ากับเจ้าเมืองในสมัยโบราณ เป็นผู้ที่ต้องดูแลสอดส่องทุกข์สุขของประชาชน เป็นผู้มีหน้าที่ทำนุบำรุงพระศาสนา ด้วยเหตนี้จึงมีเพียงผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่ทำหน้าที่นี้  ชาวเพชรบูรณ์เชื่อกันว่า ปีใดไม่มีการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาดำน้ำ บ้านเมืองจะเกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง และพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปโดยหาสาเหตุไม่ได้อีกด้วย

เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5