[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : “กล้วยเล็บมือนาง” พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของภาคใต้ตอนบน (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2658
จันทร์ ที่ 17 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง   “กล้วยเล็บมือนาง” พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของภาคใต้ตอนบน

กล้วยเล็บมือนาง เป็นพืชท้องถิ่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ปลูกรวม 8,000 ไร่ จังหวัดชุมพรเป็นแหล่งปลูกกล้วยเล็บมือนางที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดประมาณ 6,000 ไร่ นายสมชาย ทองเนื้อหา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร กล่าวว่า กล้วยเล็บมือนางเป็นพืชท้องถิ่นที่มีความสำคัญของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีตลาดรองรับที่แน่นอนทั้งในด้านของการขายผลสดและแปรรูป เป็นของฝากที่ได้รับความนิยมของจังหวัดชุมพร ด้วยข้อจำกัดในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรมีการปลูกกล้วยเล็บมือนางตามวิถีของเกษตรกร ไม่ได้มีหลักวิชาการหรือการจัดการที่เหมาะสม ทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ


กรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 ได้ทำโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยเล็บมือนางในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเล็บมือนางที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ตั้งแต่ระบบ     การจัดแปลง การบำรุงดูแลรักษา การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การคัดเลือกสายต้นกล้วยเล็บมือนางที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งสายต้นที่เหมาะกับการรับประทานเป็นผลสด และสายต้นที่เหมาะกับการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกล้วยเล็บมือนางอย่างเป็นระบบมากขึ้น รวมทั้งให้การตรวจและรับรองแหล่งปลูกกล้วยเล็บมือนางในพื้นที่ โดยออกใบรับรองสัญลักษณ์ Q เพื่อเป็นเครื่องการันตีคุณภาพและความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น


นายอุดมพร เสือมาก นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร เพิ่มเติมว่า งานวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยเล็บมือนางในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปีพ.ศ. 2554-2557 เป็นการสำรวจ รวบรวมพันธุ์กล้วยเล็บมือนางที่มีในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนทั้ง 7 จังหวัด มีอยู่จำนวน 21 สายต้น คัดเลือกเหลือ 9 สายต้น นำมาปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร จนได้พันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด สายต้นที่มีความเหมาะสมในการบริโภคผลสดเป็นพันธุ์นครศรีธรรมราช 1 ลักษณะเนื้อแน่น เนื้อเหนียว   รสหวาน กลิ่นหอม ให้ผลผลิตสูง ขณะที่สายต้นชุมพร 8 เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับนำไปแปรรูป ให้ผลผลิตสูง ลักษณะผลใหญ่ การจัดเรียงของผลสวยงาม เหมาะที่จะนำไปแปรรูปทั้งกล้วยอบ กล้วยฉาบ กล้วยเคลือบช็อกโกแลต ส่วนระยะที่ 2 เริ่มปี 2559-2564 เป็นการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง โดยการนำพันธุ์ที่รวบรวมได้มาศึกษาและขอการรับรองพันธุ์ เพื่อการบริโภคและเพื่อการแปรรูป คาดว่าในปี 2561 กรมวิชาการเกษตรจะประกาศรับรองพันธุ์กล้วยเล็บมือนางดังกล่าว


จากการศึกษาวิจัยยังได้สำรวจปัญหาการผลิตและนำมาทดสอบวิธีการแก้ปัญหาในพื้นที่ร่วมกับเกษตรกร ได้แก่ ระยะปลูก การไว้หน่อ การให้ปุ๋ย การห่อเครือ การตัดแต่งใบ     การจัดการหลังเก็บเกี่ยว หัวใจสำคัญของการผลิตกล้วยเล็บมือนางให้มีคุณภาพ นอกจากสายพันธุ์ที่เหมาะสมแล้ว การจัดการสวนอย่างถูกต้องก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะการตกแต่งหน่อทุกๆ      3 เดือน และไว้หน่อจำนวน 4 หน่อต่อกอ หากไม่ตัดแต่งหน่อให้เหมาะสม จะส่งผลให้เครือกล้วยมีขนาดเล็ก เพราะหน่อจะไปแย่งชิงอาหารจากต้นแม่ ทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ขายได้ราคาค่อนข้างต่ำ ทำให้มีรายได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

โดย ญาณี จันทร์กล่ำ
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5