[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดีอย่างไร? (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2235
อังคาร ที่ 8 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดีอย่างไร?

หลังจาก ครม. ประกาศเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งจะนำมาบังคับใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ซึ่งกระแสข่าวของการเปลี่ยนมาใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่นี้ หลายฝ่ายต่างวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่าง ๆ นานา เรามาทำความรู้จักกับการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่ว่าดีอย่างไร

พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินที่ปล่อยรกร้างว่างเปล่า, เพิ่มความเป็นอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), สร้างความเข้มแข็งและโปร่งใสในการบริหารการคลังและเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ อปท. และเพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีเดิม คือ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งมีปัญหาคือราคาปานกลางไม่มีการปรับมาเป็นระยะเวลานาน, อัตราภาษีเป็นแบบถดถอย, มีการยกเว้นลดหย่อนภาษีเป็นจำนวนมาก, ฐานภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ (ค่ารายปี) และการประเมินฐานภาษีที่ขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่

ซึ่งการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่นี้จะคำนวณฐานภาษีจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยคิดคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด ตามราคาประเมินทุนทรัพย์แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยผู้ที่ต้องเสียภาษีคือเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, เจ้าของห้องชุด, ผู้ครอบครองทรัพย์สินของรัฐ กรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง) และมีผู้จัดเก็บภาษีเป็นเทศบาล, อบต., กทม. และเมืองพัทยา

สำหรับอัตราการจัดเก็บภาษีจะแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ กลุ่มพื้นที่เกษตรกรรม เสียภาษีโดยมีอัตราเพดานสูงสุดที่ 0.2% ประเภทที่สอง กลุ่มบ้านพักอาศัย โดยผู้ที่มีบ้านพักอาศัยหลังเดียว ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี ส่วนผู้ที่มีบ้านราคาตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป จะเสียภาษีโดยมีอัตราเพดานสูงสุดที่ 0.5% ส่วนใครที่มีบ้านตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไปก็จะเสียมากหน่อย โดยจะเสียภาษีทันทีตั้งแต่บาทแรก โดยมีอัตราเพดานสูงสุดที่ 0.5% กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มที่ดินสำหรับพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม จะเสียภาษีโดยมีอัตราเพดานสูงสุดที่ 2% กลุ่มสุดท้ายคือที่ดินรกร้างว่างเปล่า จะต้องเสียภาษีโดยมีอัตราเพดานสูงสุดที่ 5%

ทั้งนี้ ใน พ.ร.บ. ยังได้กล่าวถึงทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี ได้แก่ บ้านพักอาศัย 1 หลังที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินที่ไม่ได้หาประโยชน์ทั้งของรัฐและเอกชน สหประชาชาติ และสถานทูต

การบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่นี้จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมมากมาย อาทิ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เนื่องจากผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูงจะมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ, เพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ลดปัญหาการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไรและกระจายการถือครองที่ดิน, เพิ่มรายได้ให้แก่ อปท. ซึ่งจากการคาดการณ์จะสามารถเก็บภาษีได้ราว 64 ล้านบาทในปีแรก ซึ่งเพิ่มจากเดิมประมาณ 38 ล้านบาท และท้ายสุดเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีการตรวจสอบการบริหารงานของ อปท. มากขึ้น

โดย ธัญลักษณ์ ฉิมดี
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





1 stars เฉลี่ย : 1 จาก 1 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5