[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : การรับประทานยาอย่างถูกวิธี ลดความเสี่ยงเป็นพิษต่อตับ (ด้านสุขภาพ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2673
อาทิตย์ ที่ 20 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง  : การรับประทานยาอย่างถูกวิธี ลดความเสี่ยงเป็นพิษต่อตับ

อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ พุทธสภาษิต           ที่มีมาแต่โบราณ ด้วยเหตุผลที่ว่าการรักษาสุขภาพหรือการมีสุขภาพที่ดีนั้น ถือเป็นโชคลาภ  อันประเสริฐ จากสถานการณ์ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้ปัจจุบันสภาพการทำงานและ        การใช้ชีวิตในเรื่องต่าง ๆ ต้องแข่งขันกันตลอดเวลา ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ สุขภาพเสื่อมโทรมและเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่มีเวลาไปพบแพทย์ ดังนั้น การรับทราบข้อมูลรายละเอียดของยาแต่ละประเภทจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดการรับประทานยาอย่างถูกต้อง                ซึ่งศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยา      อย่างสมเหตุสมผล มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และชมรมเภสัชชนบท ร่วมกันให้ข้อมูลถึงวิธีช่วยลดผลกระทบความเสี่ยงที่เกิดจากระบบยาที่มีต่อสุขภาพ เฝ้าระวังและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบยาที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชน          จากผลสำรวจพบว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยเกือบ 1,000 คน ที่เป็นโรคตับจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด ซึ่งเป็นเด็กอายุ 6 ขวบถึง 37 % หากผู้ปกครองต้องซื้อยาให้ลูกด้วยตนเอง แนะนำให้แจ้งอายุและน้ำหนักของลูกกับเภสัชกรประจำร้านก่อนทุกครั้ง         เพื่อลดการให้ยาเกินขนาด ถึงแม้ว่าพาราเซตามอลเป็นยาลดไข้ที่ดีที่สุดที่ใช้ในปัจจุบัน        แต่อันตรายจากการใช้พาราเซตามอล คือ การเกิดการเป็นพิษต่อตับ ส่งผลตั้งแต่การทำงานของตับไปจนถึงภาวะตับวายอย่างเฉียบพลัน และนำไปสู่การเสียชีวิตได้

การรับประทานยาพาราเซตามอลที่เกินขนาดจะไม่เห็นอาการในเร็ววัน       จะเห็นอาการก็ต่อเมื่อระยะอันตรายจากตับอักเสบ ตับแข็ง จนก่อให้เกิดมะเร็งตับ ดังนั้น    ควรทานยาเมื่อมีความจำเป็น เพิ่มความระมัดระวังโดยการอ่านฉลากข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัดทุกครั้งที่มีการใช้ยาเพื่อป้องกันการใช้ยาซ้ำซ้อน ที่สำคัญคือ ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 2 กรัม หรือ 4 เม็ด และไม่ควรบริโภคติดต่อกันนานกว่า 5 วัน สำหรับมาตรการ       การจัดการที่แนะนำแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. การเพิกถอนทะเบียนยาพาราเซตามอล ชนิดฉีด 300 มิลลิกรัม (มก.) ต่อหลอด ซึ่งน้อยเกินกว่าจะออกฤทธิ์ โดยบางชนิดยังผสมยาชา 10 มิลลิกรัม 2. ถอนทะเบียนยาพาราชนิดแตกตัวดูดซึมทันที โดยเฉพาะสูตร 650 มิลลิกรัมต่อเม็ด ต้องมีข้อความ “ยานี้มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ” คาดบนฉลากยาผสม 4. ฉลากยาควรระบุความแรงของยาเป็นภาษาไทย 5. ยาน้ำสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัยต้องมีรูปแบบที่แยกออกจากกันชัดเจนเพื่อป้องกันความผิดพลาดการใช้ยาเกินขนาด

หากสร้างการมีส่วนร่วมการรับรู้ข้อมูลและอันตรายต่าง ๆ จากการใช้ยา       ก็จะทำให้ประเทศไทยลดอัตราของผู้ป่วยและประชาชนก็จะมีสุขภาพที่ดี ต่อไป


โดย   ณัฐชยา  เหมือนสมหวัง
เรียบเรียงโดย สมจิิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5