[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : “เพลงสรรเสริญพระบารมี” เพลงประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2260
พุธ ที่ 7 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2559 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง   “เพลงสรรเสริญพระบารมี” เพลงประจำสถาบันพระมหากษัตริย์

บทเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ดังกึกก้องทั่วบริเวณท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา  เป็นภาพบรรยากาศที่ต่างจากที่เราเคยได้ยินเป็นประจำหรือยืนทำความเคารพก่อนชมภาพยนตร์ ภาพประชาชนจำนวนมากรวมพลังกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี  เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ซึ่งการรวมพลังครั้งสำคัญนี้ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และทีมงานได้จัดทำขึ้น เพื่อบันทึกเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความรักอันยิ่งใหญ่ ความผูกพัน และความอาลัยของประชาชน  ผู้จงรักภักดีทุกหมู่เหล่า โดยจัดทำเป็นภาพยนตร์และวีดิทัศน์เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศและสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ

เพลงสรรเสริญพระบารมีที่คนไทยรู้จักหรือร้องเพลงนี้ในฐานะเพลงประจำสถาบันพระมหากษัตริย์  หลายคนอาจจะยังไม่ทราบความหมายหรือที่มาของเพลง ซึ่งความหมายโดยรวมของบทเพลงสรรเสริญพระบารมีคือ “ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอกราบไหว้พระองค์ผู้มีบุญญาธิการ ซึ่งพระองค์ที่ปกครองปวงชนให้เป็นสุข ด้วยใบบุญของพระองค์ ประชาชนจึงสำนึกใน          พระมหากรุณาธิคุณ จึงขอบันดาลให้พระองค์สมประสงค์ในทุกสิ่ง เป็นการถวายพระพรชัยแด่พระองค์”  ดังนั้น เพลงสรรเสริญพระบารมี จึงเป็นบทเพลงที่แสดงถึงความรู้สึกที่ปวงชน           ชาวไทยรู้สึกว่าพระมหากษัตริย์เป็นที่มาของความสุขของแผ่นดินนี้   หากเราร้องเพลงโดยไม่เข้าใจความหมายของเนื้อเพลง ผู้ร้องก็จะไม่เกิดความซาบซึ้งและไม่เกิดความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทยตามที่บทเพลงต้องการเสนอ

สำหรับที่มาของเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้น  มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว  ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จ        ออกท้องพระโรง แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๔  โดยมีการ  

ใช้เพลง God Save the King   ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของอังกฤษ บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์  พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)   ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวาย โดยให้ชื่อว่า “จอมราชจงเจริญ”  จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น  ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง God Save the King  เป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ  จึงทำให้ประเทศไทยและประเทศอังกฤษใช้บทเพลงสรรเสริญพระบารมีเดียวกัน  ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น  ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ  พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้             แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง God Save the King  ตอนนั้นคณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุด เซน (Heutsen)  ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นมาใหม่และนำมาใช้บรรเลงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๔ – ๒๔๓๑   

        เพลงสรรเสริญพระบารมีได้ถูกแต่ง เรียบเรียง และปรับเปลี่ยนเนื้อเพลงอยู่หลายครั้งหลายครา และถูกแต่งให้มีหลายเนื้อร้องเพื่อใช้เฉพาะในกลุ่ม จนในสมัยของ พระบาทสมเด็จ               พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้นำผลงานเพลงสรรเสริญพระบารมีของปโยตร์ ซูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) ผู้ประพันธ์ทำนอง และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง มาปรับเปลี่ยนคำร้องเสียใหม่ โดยเปลี่ยนคำสุดท้ายของเพลงจากเดิมคือ “ฉะนี้” เป็น “ชโย”  ทรงประกาศใช้ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  และหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพลงสรรเสริญพระบารมีได้ถูกลดความสำคัญลงไม่ได้ถูกใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์เช่นเดิม



โดย   ชัชพร  ศฤงคารจินดา
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5