[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : การแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายของไทยในสายตาอียู (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2045
จันทร์ ที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ.2560 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง การแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายของไทยในสายตาอียู

 

จากประเด็นปัญหาการประมงผิดกฎหมายของไทยที่ถูกต่างชาติจับตามองถึงสถานการณ์ที่สหภาพยุโรป (อียู) แจกใบเหลืองให้กับประเทศไทย เนื่องจากอียูมองว่าไทยไม่ได้แสดงถึงความพยายามอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมต่อการขจัดปัญหาดังกล่าวอย่างเพียงพอ จึงให้ใบเหลืองแก่ไทยเพื่อเป็นการตักเตือนอย่างเป็นทางการเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing และหากประเทศไทยไม่รีบดำเนินการแก้ไข อียูอาจเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศที่เพิกเฉยต่อการแก้ไขปัญหา IUU fishing ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มีการแก้ไขกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามหลักสากล โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมาย แผนการทำงาน และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในด้านการประมงผิดกฎหมาย ซึ่งตอนนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่ชัดเจนในหลายด้านของการดำเนินงานของรัฐบาลไทย

โดยเมื่อวันที่ ๑ - ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ คณะผู้แทนจากรัฐสภายุโรปเดินทางมายังประเทศไทย ได้เข้าพบหารือกับผู้แทนศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมง   ผิดกฎหมาย (ศปมผ.) กระทรวงแรงงาน กรมประมง กรมเจ้าท่า รวมทั้งเข้าเยี่ยมชม    ศูนย์จัดการประมง (FMC) และการทำงานของระบบ VMS องค์การสะพานปลา และศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก (PIPO) จ.สมุทรสาคร

คณะผู้แทนกรรมาธิการประมง (PECH) รัฐสภายุโรป ได้ลงพื้นที่และติดตาม                การดำเนินงานของไทย โดยสหภาพยุโรปจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการต่อสู้กับปัญหาการทำประมงที่ไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และการเอารัดเอาเปรียบแรงงานในอุตสาหกรรมประมง และหากไทยสามารถปรับปรุงกฎระเบียบด้านการประมงสำเร็จและบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการจากสหภาพยุโรป ได้ให้คำแนะนำในสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องพยายามเพิ่มในการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย คือ การจัดระเบียบและคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอย่างผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมง เพราะอียูมองว่าไม่สามารถแยกเรื่องแรงงานออกจากประเด็นการทำประมงผิดกฎหมายได้ ซึ่งที่ผ่านมาทางการไทยได้ดำเนินการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตั้งแต่การเข้ามาทำงานในประเทศมิให้


ถูกเอาเปรียบ การนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบ การดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม อำนวยความสะดวกด้านการร้องเรียน การเปลี่ยนนายจ้าง มีการเพิ่มผู้ตรวจแรงงาน ล่าม รวมถึงการออกหนังสือคนประจำเรือและการสัมภาษณ์แรงงาน และร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ NGOs ในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว

     ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและข้อแนะนำของอียู โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาแรงงาน    ต่างด้าวควบคู่ไปกับปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งฝากให้กำลังเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่มุ่งมั่น ทุ่มเท ทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งอุตสาหกรรมประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลของไทยอย่างยั่งยืน             ซึ่งหลังจากการเข้าตรวจเยี่ยมคณะผู้แทนอียูมีท่าทีเป็นที่น่าพอใจในการดำเนินการของไทย และอียูจะมีการประกาศผลการพิจารณาการแก้ไขปัญหาของไทยขึ้น คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๖๐

โดย   เพ็ญกมล ประเสริฐกุล
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก






Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5