[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : 3 โครงการสยบหมอกควันภาคเหนือ (ด้านสิ่งแวดล้อม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2883
อาทิตย์ ที่ 14 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง   3 โครงการสยบหมอกควันภาคเหนือ


ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาหลายจังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก อุตรดิตถ์ แพร่ และจังหวัดน่าน ต้องเผชิญกับสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงต้นปี สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการจุดไฟเผาป่า เผาวัชพืช เผาเศษวัสดุการเกษตร หรือเผาตอซังพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก  ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ลอยอยู่ในอากาศเกินกว่าระดับมาตรฐาน นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว รวมทั้งบดบังทัศนวิสัยทางการบิน ทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์  ของดิน เนื้อดินจับตัวกันแน่นแข็ง ทำให้ดินสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำให้สภาพดินเสียหายและเสื่อมโทรม เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ มีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันปัญหาการเผาในพื้นที่โล่งและลดมลพิษ ทางหมอกควันอย่างต่อเนื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือทำงานแบบบูรณาการในการป้องกัน เฝ้าระวัง และเตือนภัย พร้อมกับให้บริการข้อมูลการ หยุดเผาในพื้นที่เกษตรผ่านศูนย์การเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านรณรงค์และสร้างการรับรู้ให้เกษตรกร

นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดิน  เป็นหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมให้ความรู้แก่ชุมชนเกษตรกร ตามโครงการ “รณรงค์ไถกลบตอซัง เพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน” เพื่อสร้างการรับรู้ให้หยุดเผาตอซังพืชอย่างเด็ดขาดเพื่อลดปัญหาหมอกควันและไฟป่า สั่งการให้สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดภาคเหนือตอนบนร่วมมือกับหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ทำการรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้เพื่อปรับทัศนคติให้รับรู้ถึงข้อดีและประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้วิธีไถกลบตอซังพืชลงในดินแทน   จัดทำแปลงนาสาธิตการไถกลบตอซังพืชร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 เพื่อให้เป็นแปลงตัวอย่างศึกษาดูงานในทุกจังหวัด

ทั้งนี้ เกษตรกรควรให้ความร่วมมือหยุดเผาตอซังพืช เศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดินร่วมกับการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต ในปี 2560 กรมพัฒนาที่ดินได้วางแผนการดำเนินการ           3 โครงการในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือ คือ โครงการไถกลบตอซังเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน, โครงการลดการเผาในพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน, โครงการลดการใช้สารเคมี ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ กิจกรรมงดเผาฟางและตอซัง

อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินยังได้กล่าวว่า การส่งเสริมให้เกษตรกรหยุดการเผา     ตอซังพืชและใช้วิธีไถกลบลงดินช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกรมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการร่วมทำความเข้าใจแก่ชุมชนเกษตรกร เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข ศึกษาดูงานในพื้นที่ พบปะพูดคุยกลุ่มคนตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพจริง จนเกิดแรงบันดาลใจต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ลดผลกระทบในวิถีชีวิตตนเอง โดยทำควบคู่ไปกับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม.

โดย   พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์  
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5