[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ปัญหาการปฏิรูปการศึกษา (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2163
ศุกร์์ ที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง   ปัญหาการปฏิรูปการศึกษา


หลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศ    ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้อยู่ในวงการศึกษาต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว แนวคิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญถูกนำมาถกกันตลอด 3 ปีที่ผ่านมา การปฏิรูปการศึกษาของชาติในยุครัฐบาลนี้ถูกมองว่าทำได้เพียงการแก้ปัญหาเฉพาะ ขณะที่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างยังจับต้องไม่ได้ ทุกครั้งที่การปฏิรูปการศึกษาถูกหยิบยกขึ้นมาพูดมักพุ่งเป้าไปที่ปัญหาเรื้อรังเรื่องของความเหลื่อมล้ำ,          การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับปัจจุบัน, การพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ ทั้ง 3 สิ่ง     ถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา เป็นกุญแจไขไปสู่ปัญหาการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกัน    ทั้งระบบ

ที่ผ่านมานโยบายการศึกษาเปลี่ยนไปตามนโยบายของพรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล มีการประกาศนโยบายมุ่งเน้นใน 3 ด้านคือ เรื่องคุณภาพการศึกษา โอกาสทางการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในทุกระดับที่ใช้ในชีวิตจริง แต่จะแก้ปัญหาที่เป็นหัวใจหลักของการศึกษาได้ต้องใช้นโยบายที่ต่อเนื่อง พรรคการเมืองที่เข้ามากำกับจึงเน้นนโยบายที่เห็นผลงานจับต้องได้ในระยะสั้นเท่านั้น ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาของชาติถูกมองว่าถนัดเพียงแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือแก้ตามกระแสแต่ขาดความรับผิดชอบจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

นายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษาว่า การปฏิรูปนั้นยากจะประสบความสำเร็จหากฝากความหวังไว้กับรัฐบาลแต่ฝ่ายเดียว ได้เสนอให้เปลี่ยนระบบการรับผิดชอบการบริหารงานจากกระทรวงมาถึง

ตัวนักเรียน ก่อนจะถึงตัวนักเรียนเป็นเรื่องที่ห่างไกลมากต้องทำให้สั้นลง ให้ความรับผิดชอบไปถึงตัวนักเรียนโดยตรง ขณะที่แนวคิดนายวิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่าการปฏิรูปการศึกษายังขาดการมีส่วนร่วม       จากส่วนอื่น เป็นการปฏิรูปเพียงรูปแบบระบบบริหารราชการแบบแก้ไขกฎหมาย ใช้คำสั่งจากบนลงล่าง เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ไม่เกิดแนวคิดใหม่หรือแรงผลักดันที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอนที่ช่วยยกระดับการศึกษาได้ต่อเนื่อง โดย       นายวิทยากรมองว่า การปฏิรูปการศึกษายังวนเวียนอยู่ที่เดิม ไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และย้ำว่าการปฏิรูปจะเกิดขึ้นไม่ได้หากยังฝากความหวังไว้กับข้าราชการที่ทำงาน   แบบตั้งคณะกรรมการจากกลุ่มข้าราชการกันเอง นอกจากนี้ หากไม่สามารถปฏิรูปครูอาจารย์โดยเพิ่มแรงจูงใจให้ครูดีครูเก่งอยู่ต่อและทำงานได้มีประสิทธิภาพ หรือพัฒนาครูที่มีแววหรือครูรุ่นใหม่อย่างจริงจัง ซึ่งรัฐบาลต้องกล้าตัดสินใจผ่าตัดคัดครูคุณภาพต่ำที่ผ่านการฝึกอบรมใหม่แล้วแต่ยังสอนไม่มีประสิทธิภาพออกไป หรือโยกย้ายให้ไปทำหน้าที่ธุรการ หรือให้เกษียณก่อนกำหนด หากไม่ทำตามแนวคิดดังกล่าวการปฏิรูปการศึกษาจะกลายเป็นปัญหาที่เวียนกลับมาอยู่ที่เดิม

เรื่องนี้รัฐบาลในปัจจุบันและในอนาคตจะต้องคำนึงถึง และตระหนักร่วมกันว่าการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง.


โดย   พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์  
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5