[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ยกระดับคุณภาพเกลือทะเลเพื่อส่งออกตลาดโลก (ด้านเศรษฐกิจ)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 2053
จันทร์ ที่ 19 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง   ยกระดับคุณภาพเกลือทะเลเพื่อส่งออกตลาดโลก

นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์      และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชมขบวนการผลิตเกลือทะเลของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร    เกลือทะเลไทยเพชรบุรี จำกัด พร้อมรับฟังปัญหาการทำอาชีพเกลือทะเลที่ ต.บ้านแหลม      อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี พบว่า จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ในการทำนาเกลือรวมทั้งสิ้น 32,000 ไร่ โดยเกษตรกรสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จำกัด มีพื้นที่ทำนาเกลือคิดเป็นร้อยละ 45.24 ของพื้นที่ทำนาเกลือทั้งหมดของจังหวัดเพชรบุรี

ตั้งแต่ปี 2536 เกษตรกรผู้ทำนาเกลือได้รวมกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรชาวนาเกลือบ้านแหลม จำกัด มีสมาชิกแรกเริ่ม 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบ้านแหลม กลุ่มบางขุนไทร กลุ่มปากทะเล และกลุ่มบางแก้ว – พะเนิน ทุนดำเนินแรกเริ่ม 111,000 บาท และ           จดทะเบียนชื่อว่า สหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จำกัด ปัจจุบันมีสมาชิก     261 คน ดำเนินธุรกิจหลักคือ การรวบรวมผลผลิตเกลือทะเลจากสมาชิก การแปรรูป        การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และการให้บริการอื่น ๆ สำหรับการดำเนินธุรกิจรวบรวมและจำหน่ายเกลือทะเลนั้น ทางสหกรณ์ได้จัดทำแผนรวบรวมผลผลิต โดยทำข้อตกลง MOU กับสมาชิกสหกรณ์ และรวบรวมผลผลิตเกลือโดยแบ่งเป็นเกลือแต่ละประเภทเป็นเกลือขาว   เกลือกลาง และเกลือดำ ที่ผ่านมาทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ช่วยเหลือสมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ทำนาเกลือในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ภายใต้โครงการ “สร้างระบบการผลิตและการตลาดเกลือทะเลของสถาบันเกษตรกรด้วยวิธีการยกระดับราคาให้ยั่งยืน” แก้ไขปัญหาร่วมกันในการผลิตเกลือคุณภาพมาตรฐานและยกระดับราคาเกลือ ซึ่งในช่วงฤดูแล้งของทุกปีผลผลิตเกลือทะเลจะมีปริมาณมากที่สุดเป็น 3 – 4 เท่าของช่วงปกติ จึงได้จัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร วงเงิน 52.5 ล้านบาท เป็นเงินปลอดดอกเบี้ยให้สหกรณ์ชาวนาเกลือได้กู้ยืมไปเป็นทุนหมุนเวียน     ในการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก และกำหนดชำระคืนภายใน 5 ปี ระยะเวลาเริ่มโครงการ พ.ศ. 2559 -2563 และพบว่า เกษตรกรยังประสบปัญหาในการดำเนินงานหลายด้านที่ภาครัฐต้องให้การส่งเสริมและหาแนวทางแก้ไข ได้แก่ เรื่องต้นทุนการผลิตเกลือที่สูง, ส่งเสริมคุณภาพเกลือ และการแปรรูปผลผลิตเกลือให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ทุกภาคส่วน    จะเข้ามาบูรณาการเพื่อศึกษาหาแนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งให้สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ศึกษาวิจัยการพัฒนาเกลือทะเลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง และส่งเสริมยกระดับระบบสหกรณ์นาเกลือให้เข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี หาแนวทางส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ประชาชนต้องร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จ     พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่ได้ทรงวางรากฐานรักษาอาชีพทำนาเกลือไว้ให้   คนไทย ทรงพระราชทานพื้นที่ที่สำคัญในการทำนาเกลือจนเกิดประโยชน์ต่อคนไทยมาช้านาน ประโยชน์ของเกลือทะเลไม่เพียงช่วยให้ไม่เป็นโรคคอหอยพอกเท่านั้น แต่ยังสามารถนำเกลือไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นได้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันรักษาอาชีพทำนาเกลือไว้ให้คงอยู่กับคนไทย   ได้นานเท่านาน.

โดย   พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์  
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5