[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ก่อนซื้ออาหารเสริมให้ดูเลข อย. (ด้านสังคม)
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 1962
ศุกร์์ ที่ 4 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2561 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

เรื่อง   ก่อนซื้ออาหารเสริมให้ดูเลข อย.

กระแสรักสุขภาพกำลังมาแรง ทำให้อาหารเสริมได้รับความนิยม ในยุคที่การขายออนไลน์เฟื่องฟูมีโฆษณาขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเกลื่อนเน็ต แต่ใช่ว่าอาหารเสริมที่มีขายอยู่นั้นจะปลอดภัย ถ้าไม่ต้องการตกเป็นเหยื่อจากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย       ก่อนเลือกซื้อควรดูว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีฉลากหรือไม่ และบนฉลากมีชื่อผู้ผลิต ชื่อสินค้า ปริมาณ วิธีใช้ คำเตือน วันเดือนปีที่ผลิต วันหมดอายุ และดูว่าผ่านการจดแจ้งหรือได้รับอนุญาตจาก อย.หรือไม่ ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ดังกล่าว ไม่ควรซื้อมารับประทาน          อย่างเด็ดขาด แต่ถึงพบสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ที่ว่าก็ยังไม่อาจวางใจได้ ดังนั้น ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสามารถตรวจสอบได้ที่ www.fda.moph.go.th, www.oryor.com หรือตรวจสอบผ่านทางสายด่วน อย. 1556, เว็บไซต์, Line : FDAthai และ Oryor Smart Application เพื่อตรวจสอบว่ามีการขึ้นทะเบียนถูกต้องซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกันทั้งชื่อ    ที่อยู่ ผู้ผลิต ชื่อผลิตภัณฑ์ และเลขที่อนุญาตเพื่อป้องกันการสวมเลข อย.

และถึงแม้ว่าจะมีการจดแจ้งหรือได้รับอนุญาตจาก อย. อย่างถูกต้อง ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะปลอดภัยสำหรับทุกคน เพราะการแพ้ผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล ต้องพิจารณาจากส่วนผสม ถ้าพบส่วนผสมที่ทำให้เกิดอาการแพ้ไม่ควรซื้อมารับประทาน นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงเรื่องการใช้งานให้ถูกวิธี และเรื่องของการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริง เช่น กินแล้วทำให้หายโรค ตื่นมากระปรี้กระเปร่า มีสุขภาพดี หรือกินแล้วฉลาด รักษาได้ทุกโรค กินแล้วขาว กินแล้วผอม ให้สันนิษฐานไว้ว่าเป็นโฆษณาเกินจริง และควรเปรียบเทียบข้อมูลโฆษณาที่ได้รับกับฉลากข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่อยู่ข้างกล่อง ถ้าไม่ตรงกัน  ควรหลีกเลี่ยงหรือสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ต้องสังเกตฉลากเพื่อหาข้อมูลที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ใดขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์ใดขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในรูปของอาหารไม่สามารถรักษาโรค  ใด ๆ ได้เพราะไม่ได้เป็นยารักษาโรค ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคจะไม่มีเครื่องหมาย อย. แสดงบนฉลากแต่จะแสดงเป็นเลขทะเบียนตำรับยาระบุบนฉลากแทน

นอกจากนี้ ข้อความโฆษณาต้องมีเลขอนุญาตโฆษณา ลักษณะของเลขอนุญาตโฆษณา เช่น ฆอ. 9988/2543 ซึ่งรวมถึงคำพูดที่ผู้จำหน่ายอธิบายประกอบการขายผลิตภัณฑ์ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแล้ว เลขสารบบอาหาร 13 หลักของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นเพียงเครื่องบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนประกอบ มีกระบวนการผลิต และมีคุณภาพหรือมาตรฐานสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้หมายรวมถึงการรับรองสรรพคุณตามที่โฆษณา หากพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริงให้แจ้งไปที่ สายด่วน อย. 1556 หรือร้องเรียนผ่าน  Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเพื่อที่ อย. จะได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวด.


โดย   พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์  
เรียบเรียงโดย สมจิตร ตาลสุก





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5