[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : รัฐช่วยแก้ปัญหาบุกรุกที่ทำกินในพื้นที่ป่า คนจนมีที่อยู่ ที่ทำกิน ป่าไม้ได้รับการดูแล
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 1746
พุธ ที่ 28 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2561 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

รัฐช่วยแก้ปัญหาบุกรุกที่ทำกินในพื้นที่ป่า คนจนมีที่อยู่ ที่ทำกิน ป่าไม้ได้รับการดูแล

รัฐบาลวางมาตรการแก้ปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ กำหนด 5 กลุ่ม การแก้ปัญหา หวังใช้ประโยชน์อย่างยั่งยื

 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าหลายประเภท อาทิ ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ ป่าที่อนุญาตใช้เป็นที่ดินทำกิน ซึ่งทุกภาคส่วนบริหารพื้นที่ป่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากเดิมที่กำหนดให้รัฐกำหนดพื้นที่และให้ทุกคนออกจากป่า ปัจจุบันจะให้สิทธิชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ที่อยู่ใกล้ชุมชน โดยรัฐส่งเสริมให้ชุมชนร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์

 มติ ครม.เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.41 กรมป่าไม้ได้สำรวจรังวัดแปลงที่ดินในพื้นที่ป่าสงวน ที่มีประชาชนเข้าไปบุกรุกทำกินและพบร่องรอยการอยู่อาศัยและทำประโยชน์ และที่ผ่านมารัฐบาลได้แก้ไขการรุกล้ำที่ดินในพื้นที่ป่าไม้มาอย่างต่อเนื่อง

 การสำรวจเบื้องต้นได้ทำเขตแนวป่าให้ชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการพิสูจน์และป้องกันการรุกล้ำโดยไม่เจตนา รัฐมีนโยบายจัดที่ทำกินให้ชุมชนในลักษณะแปลงรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนยากไร้ แต่จะมีพื้นที่บุกรุกในส่วนที่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในลุ่มน้ำชั้นที่ 1-2 และลุ่มน้ำชั้นที่ 3-4 ที่มีประชาชนเข้าไปอาศัยและทำกินอยู่บางส่วน พร้อมวางแนวทางจัดที่ดินทำกินให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

 กลุ่มที่ 1 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 3-5 (ที่อยู่มาก่อน มติ ครม.วันที่ 30 มิ.ย.41) ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดที่ดิน โดยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) อยู่แล้ว ให้เข้าใช้ประโยชน์ อยู่อาศัย และทำกินแบบแปลงรวม (ให้สิทธิทำกินแต่ไม่ให้เอกสารสิทธิ) คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี

 กลุ่มที่ 2 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 3-5 (ที่อยู่หลัง มติ ครม.วันที่ 30 มิ.ย.41) อนุญาตให้อยู่อาศัยและทำกินแบบแปลงรวม โดยต้องปลูกป่าเพื่อเศรษฐกิจอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ และต้องดูแลรักษาไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่มเติม ทั้งนี้ ผู้ทำกินในพื้นที่ต้องรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมกับองค์กรอื่น เช่น สหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อออกแบบและขออนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ โดยกรมป่าไม้จะจัดเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ

 กลุ่มที่ ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1-2 (ที่อยู่มาก่อน มติ ครม.วันที่ 30 มิ.ย.41) ให้เจ้าหน้าที่จัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น ควบคุมการใช้ที่ดินภายใต้การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ห้ามบุกรุกและขยายพื้นที่ , ฟื้นฟูป่าในรูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกป่า 3 อย่าง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ , อนุรักษ์ดินและน้ำ ควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม , ลดการชะล้างพังทลายและปฏิบัติตามที่กรมป่าไม้กำหนดและติดตามควบคุมการใช้ที่ดิน ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

 กลุ่มที่ 4 ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ (ที่อยู่ทั้งก่อนและหลัง มติ ครม.วันที่ 30 มิ.ย.41) โดยให้สำรวจการครอบครองที่ดิน โดยให้มีคณะทำงานสำรวจการครอบครองที่ดินระดับพื้นที่รับแจ้งการครอบครองที่ดินและร่วมกับชุมชน สำรวจการครอบครองที่ดินของราษฎรทุกรายพร้อมให้ตรวจสอบและบริหารจัดการพื้นที่ โดยให้คณะทำงานสำรวจฯ นำผลการสำรวจมาตรวจสอบกับภาพถ่ายทางอากาศหรือพิจารณาร่วมกับหลักฐานอื่นๆ หากพบว่าเป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ ให้ย้ายราษฎรออกไปอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม

 แต่หากมีเหตุจำเป็นยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จะจัดระเบียบพื้นที่ให้อยู่เท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและเป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำอย่างเคร่งครัด

ขณะเดียวกันถ้าไม่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ ให้พิจารณาผลสำรวจการครอบครองที่ดินและพิจารณาตามความจำเป็นเพื่อการดำรงชีพ

 กลุ่มที่ 5 ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลน มีแนวทางช่วยเหลือ โดยจัดทำเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน พร้อมกันส่วนที่จะอนุรักษ์ฟื้นฟู, จัดประชุมชี้แจงให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและเข้าใจวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน , สำรวจ ตรวจสอบการครอบครองพื้นที่ , จัดทำขอบเขตแผนผังบริเวณที่ยังฟื้นฟูได้ , จัดทำแผนบริหารจัดการและโครงการเพื่อการขออนุญาตและนำเสนอ ครม.เพื่อขอความเห็นชอบในการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน หากมีการบุกรุกขยายพื้นที่ครอบครอง ภายหลังการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด

 รัฐบาลได้วางแนวทางช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้อย่างเป็นระบบ ให้มีที่ดินทำกินอย่างถูกกฎหมายและกระทบกับวิถีชีวิตน้อยที่สุด พร้อมให้ความรู้ในการประกอบอาชีพสร้างรายได้เพิ่ม มีความมั่นคงในชีวิต ทำให้อยู่อาศัยได้อย่างสบายใจ 

 ขณะเดียวกันรัฐจะได้ที่ดินที่ควรค่าแก่การฟื้นฟูและอนุรักษ์กลับคืนมา สร้างความมั่นคงให้ แก่ธรรมชาติ แหล่งอาหาร แหล่งชีวิต และเป็นการเพิ่มสมดุลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนอยู่กับสังคมและธรรมชาติอย่างเท่าเทียม





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5